ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ PREEYANAT ได้เลยค่ะ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

กฎหมายระหว่างประเทศที่ควรรู้

1.กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
2.กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
3.กฎหมายว่าด้วยผู้ลี้ภัย
   3.1 การลี้ภัยทางดินแดง (territorial asylum)
   3.2 การลี้ภัยทางทูติ (diplomatic asylum)
4.กฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557

รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัยข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ

รูปแบบของรัฐ

รูปแบบของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

รัฐเดี่ยว คือ รัฐที่ศูนย์กลางในทางการเมือง และการปกครองรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีเอกภาพไม่ใด้แยกจากกัน มีการใช้อำนาจสูงสุดทั้งภายในและภายนอกโดยองค์กรเดียวกันทั่วดินแดนของรัฐ อำนาจสูงสุดในที่นี้นี้คืออำนาจอธิปไตย

รัฐรวม รัฐคู่ คือ รัฐต่างๆ ที่มีตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปซึ่งได้รวมตัวกันภายไต้รัฐบาลเดียวกัน หรือ ประมุขเดียวกันโดยที่แต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่อย่างเดิม ประเทศที่เป็นรัฐรวมหรือหลายรัฐที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันจะอยู่ในรูปแบบของ สหรัฐ หรือ สหพันธรัฐ

( รัฐ กับ ชาติ เป็นสิ่งเดียวกัน )

ความหมายและความสำคัญของสิทธิมนุษยชน

1. ความหมายของสิทธิมนุษยชน
1.1 สิทธิมนุษยชน ตามที่เดชา สวนานนท์ ได้อธิบายความหมายสิทธิมนุษยชนไว้ในหนังสือคำอธิบายศัพท์: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ว่า สิทธิมนุษยชน หมายถึงสิทธิของมนุษย์ ติดตัวมาแต่เกิดของมนุษย์ทุกคน เป็นกระแสโลกอีกกระแสหนึ่ง องค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มวลประเทศสมาชิกให้การยอมรับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยอมรับในหลักการแห่งการคุ้มครองในสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกโดยการจัดตั้งองค์การขึ้นมา เพื่อตรวจสอบดูแล เรียกว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานกรรมการหนึ่งคน และกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้นตามคำแนะนำของวุฒิสภา
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ สิทธิมนุษยชน ไว้ว่า อ่านเพิ่มเติม

คุณลักษณะพลเมืองดี

1. เคารพกฎหมาย
2. เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก
4. มีเหตุผล ใจกว้าง และรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นเสมอ
5. มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6. มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่
7. มีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางการเมืองการปกครอง

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

วัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆของไทย

วัฒนธรรมภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น


วัฒนธรรมภาคเหนือ
ตุง เป็นภาษาถิ่นประจำภาคเหนือซึ่งตรงกับคำว่า ธง ในภาษาไทยภาคกลางและตรงกับคำว่า ธุง ในภาษาท้องถิ่นอีสาน มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุ ส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ธง ไว้ว่า “ ธง น. ผืนผ้าโดยมากเป็นสีและบางอย่างมีลวดลายเป็นรูปต่าง ๆ ที่ทำด้วยกระดาษหรือ สิ่งอื่น ๆ ก็มีสำหรับใช้เป็นเครื่องหมายบอกชาติ เครื่องหมายตามแบบสากลนิยม เครื่องหมายเดินทะเล อาณัติสัญญาณ ตกแต่ง สถานที่ในงานรื่นเริงหรือกระบวนแห่ …” การใช้ตุงทางภาคเหนือ อ่านเพิ่มเติม



วัฒนธรรมภาคอีสาน
ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ชาวอีสานจัดขึ้นในเดือน 6 เรียกกันว่า "บุญเดือนหก" มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เป็นงานรื่นเริงครั้งใหญ่ก่อนการเริ่มทำนา และเป็นการสร้างกำลังใจว่าการทำนาในปีนั้นจะได้ผลดี โดยมี ความเชื่อว่าเทวดาคือ "พระยาแถน" สามารถบัลดาลให้พืชผลในท้องนาอุดมสมบูรณ์ หากบูชาเซ่นสรวงให้ พระยาแถนพอใจก็จะช่วยให้ฝนตกตามฤดูกาล การทำนาได้ผลธัญญาหารบริบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าหมู่บ้านใคร ทำบุญบั้งไฟติดต่อกันทุก 3 ปี อ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมภาคใต้
ประเพณีชักพระ เป็นประเพณีท้องถิ่นในภาคใต้ตอนกลาง เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธาในพระ พุทธศาสนา และวิถีชีวิตชาวใต้ที่มีความผูกพันกับน้ำ ประเพณีชักพระหรือลากพระจัดขึ้นในช่วงออกพรรษา โดยเฉพาะในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ด้วยความเชื่อว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาว ดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ จึงมีการจัดงานเพื่อแสดงความยินดี ประชาชนจึงอัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับ บนบุษบกที่จัดเตรียมไว้ แล้วแห่แหนไปยังที่ประทับ ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดขบวนทางเรือ แต่บริเวณใดที่ ห่างไกลแม่น้ำก็จะจัดพิธีทางบก






การขัดเกลาทางสังคม

การขัดเกลาทางสังคมหมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฎิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ  การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอตชีวิต  เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี
การขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้  2  ประเภท
1.  การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง
  เช่นการอบรมสั่งสอน  ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด  สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร  หรือสอนให้เรียกพี่ 
น้อง  ปู่  ย่า  เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง
2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม   เช่น  การอ่านหนังสือพิมพ์  การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์  ตลอดจนการดูภาพยนต์  ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ  และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึง การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนด้วยและเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิก อ่านเพิ่มเติม